การแยกสาร (ป.6)
การแยกสาร (Purification)
การแยกสาร หมายถึง การที่แยกสารที่ผสมกันตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปออกจากกัน เพื่อนำสารที่ได้นั้นไปใช้ประโยชน์ตามต้องการ ซึ่งสามารถจำแนกได้คือ การแยกสารเนื้อผสม และการแยกสารเนื้อเดียว
การแยกสารเนื้อผสม และการแยกสารเนื้อเดียว
1. สารเนื้อผสม หมายถึง สารที่มีลักษณะเนื้อสารไม่ผสมกลมกลืนกันเป็นเนื้อเดียวกันเกิดจาก
สารอย่างน้อย 2 ชนิดขึ้นไปมาผสมกันโดยเนื้อสารจะแยกกันเป็นส่วนๆ
2. สารเนื้อเดียว เป็นสารทีเกิดขึ้นโดยทั่วไป มองเห็นเป็นเนื้อเดียวกันโดยตลอด แบ่งเป็นพวก
ได้แก่ ธาตุ สารละลาย และสารประกอบ ในการแยกสารเนื้อเดียวที่อยู่ในรูปของสารละลาย
การจำแนกสารโดยใช้เนื้อสารเป็นเกณฑ์
เมื่อใช้สมบัติทางกายภาพของสารที่ได้จากการสังเกตลักษณะความแตกต่างของเนื้อสาร จะสามารถจำแนกได้ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
- สารเนื้อเดียว ( Homogeneous Substance ) หมายถึง สารที่มีเนื้อสารเหมือนกันทุกส่วน ทำให้สารมีสมบัติเหมือนกันตลอดทุกส่วน เช่น แอลกอฮอล์ ทองคำ โลหะบัดกรี
- สารเนื้อผสม ( Heterogeneous Substance ) หมายถึง สารที่มีเนื้อสารแตกต่างกันในแต่ละส่วน จะทำให้สารนั้นมีสมบัติ ไม่เหมือนกันตลอดทุกส่วน เช่น น้ำอบไทย น้ำคลอง
วิธีการแยกสารเนื้อผสม
วิธีการแยกสารเนื้อผสม
การแยกสารเนื้อผสมอาจใช้วิธีการต่าง ๆ เช่น การกรอง การใช้กรวยแยก การใช้อำนาจแม่เหล็ก การระเหิด การระเหยจนแห้ง ซึ่งเป็นการแยกสารโดยวิธีทางกายภาพทั้งสิ้น สารที่แยกได้จะมีสมบัติเหมือนเดิม ซึ่งรายละเอียดของวิธีการแยกแบบต่าง ๆ สรุปได้ดังนี้
1. การกรอง
เป็นวิธีการแยกสารออกจากกันระหว่างของแข็งกับของเหลว หรือใช้แยกสารแขวนลอยออกจากน้ำ ซึ่งใช้กันมากในทางเคมี โดยเฉพาะในห้องปฏิบัติการที่กรองสารในปริมาณน้อย ๆ การกรองนั้นจะต้องเทสารผ่านกระดาษกรอง หรืออาจใช้วัสดุต่างๆนอกเหนือจากกระดาษกรองก็ได้ เช่น ผ้าขาวบางหรือผ้าชนิดต่างๆ
เซลโลเฟนหรือกระดาษแก้ว เป็นต้น
***เซลโลเฟนหรือกระดาษแก้ว (cellophane) เป็นวัสดุที่ทำจากเซลลูโลส ( cellulose ) ในไม้หรือพืชเส้นใยอื่น ๆ โครงสร้างทางเคมีเป็นกระดาษ แต่รูปร่างลักษณะจัดเป็นพลาสติก เป็นวัสดุโปร่งแสงและใส ความชื้นผ่านได้มาก อากาศผ่านได้น้อย
2. การระเหยแห้ง
การแยกสารด้วยวิธีนี้เหมาะสำหรับใช้แยกสารผสมที่เป็นของแข็งละลายอยู่ในของเหลว จนทำให้ได้สารผสม มีลักษณะ เป็นของเหลวใส ซึ่งเราเรียกสารผสมนี้ว่า สารละลาย เช่น น้ำทะเล น้ำเชื่อม น้ำเกลือ เป็นต้น การแยกสารโดยวิธีการระเหยแห้ง นิยมใช้ในการแยกเกลือออกจากน้ำทะเล โดยชาวนาเกลือจะเตรียมแปลงนาแล้วใช้กังหันฉุดน้ำทะเลเข้าสู้แปลงนาเกลือหลังจาก นั้นปล่อยให้น้ำทะเลได้รับแสงแดดเป็นเวลานานจนกระทั่งน้ำระเหยจนแห้ง จะเหลือเกลืออยู่ในนา เกลือที่ได้นี้เรียกว่า เกลือสมุทร ซึ่งเป็นเกลือที่นำมาใช้ปรุงอาหาร ทำเครื่องดื่ม
3. การระเหิด
การระเหิดเป็นเทคนิคของการทำสารให้บริสุทธิ์อีกหนทางหนึ่ง ซึ่งอาศัยสมบัติการเปลี่ยนสถานะของสารจากของแข็งให้กลายเป็นไอ โดยไม่ผ่านการเป็นของเหลว โดยสารประกอบดังกล่าวนั้น จะต้องเป็นสารประกอบที่มีความดันไอสูง และส่วนของสิ่งเจือปน จะต้องมีความดันไอต่ำ เมื่อการลดความดันลงจนถึงจุดสมดุล ระหว่างสถานะของแข็งและก๊าซ จะเกิดการระเหิด ของอนุภาคของสารนั้น การระเหิดเกิดขึ้นได้เพราะอนุภาคในของแข็งมีการสั่น และชนกับอนุภาคข้างเคียงตลอดเวลา ทำให้มีการถ่ายเทพลังงานจลน์ระหว่างอนุภาค เช่นเดียวกับ ในของเหลวและแก๊ส
***ปัจจัยที่มีผลต่อการระเหิด
1) อุณหภูมิ อัตราการระเหิดเป็นสัดส่วนโดยตรงกับอุณหภูมิ
2) ชนิดของของแข็ง ของแข็งที่มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคน้อยจะระเหิดได้ง่าย
3) ความดันของบรรยากาศ ถ้าความดันของบรรยากาศสูงของแข็งจะระเหิดได้ยาก
4) พื้นที่ผิวของของแข็ง ถ้ามีพื้นที่มากจะระเหิดได้ง่าย
5) อากาศเหนือของแข็ง อากาศเหนือของแข็งจะต้องมีการถ่ายเทเสมอ เพื่อป้องกันการอิ่มตัวของไอ
4. การใช้แม่เหล็กดูด
เป็นการแยกของผสมเมื่อสารชนิดหนึ่งสามารถถูกดูดด้วยแม่เหล็กได้ เช่น การแยกผงตะไบเหล็กออกจากสารหรือ การแยกเหล็กออกจากสินแร
5. การใช้มือหยิบออก
เป็นการแยกของผสมที่มีขนาดใหญ่ มองเห็นได้ชัด เช่น แยกเมล็ดข้าวเปลือกที่ปนกับข้าวสาร
6. การใช้กรวยแยก
ใช้แยกสารที่เป็นของเหลวที่ไม่รวมเป็นเนื้อเดียวกันออกจากกัน การใช้กรวยแยกจะเหมาะกับสารที่เป็นของเหลวและแยกคนละชั้น หรือมีขั้วต่างกัน เช่น น้ำกับน้ำมัน จะแยกชั้นกันอยู่ เพราะน้ำมีขั้วแต่น้ำมันไม่มีขั้ว ซึ่งกรวยแยกจะมีลักษณะเป็นกรวยให้เราใส่ของเหลวลงไป ของเหลวนั้นจะแยกชั้นกันอยู่ จากนั้นให้เราไขก๊อกของเหลวส่วนล่างก็จะไหลออกมาเรื่อยๆ จนกระทั่งเราเห็นว่าของเหลวส่วนล่างใกล้หมดแล้วเราก็ค่อยๆ ไขก๊อกปิด แล้วก็เปลี่ยนบีกเกอร์เพื่อมารองรับสารละลายส่วนบนที่เหลืออยู่ต่อไป
7. การร่อน
เป็นวิธีการแยกสารที่มีสถานะเป็นของแข็งออกจากกัน ซึ่งองค์ประกอบของสารนั้นจะต้องมีขนาดที่แตกต่างกัน จึงจะสามารถแยกสารโดยวิธีการร่อนได้ เช่นการแยกทรายละเอียดและทรายหยาบออกจากกันเพื่อใช้ในการก่อสร้าง การร่อนทอง เป็นต้น
วีดีโอการแยกสาร
ที่มา : https://youtu.be/1iDuzjNWKtI
เนื้อหากระชับเข้าใจง่าย
ตอบลบเนื้อหาครบ อ่านแล้วเข้าใจง่ายครับ
ตอบลบสวยๆ
ตอบลบผู้จัดทำสวยมากครับ
ตอบลบเนื้อหาอ่านแล้วเข้าใจง่ายค่ะ
ตอบลบมีรูปภาพ วีดีโอประกอบด้วยทำให้เข้าใจมากขึ้นค่ะ
ตอบลบเนื้อหามีความสนใจ ดึงดูดด้วยรูปภาพที่มีสีสันสวยงาม
ตอบลบเนื้อหาครบถ้วน มีสื่อ วีดีโอ ประกอบ เหมาะสำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่6 ครับ
ตอบลบ